วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 7 จริยธรรมในระบบสารสนเทศ

จริยธรรมในระบบสารสนเทศ

 เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีความสามารถในการใช้งานมากขึ้น ผลของการพัฒนา ทำให้มีการประยุกต์ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง จนอาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคนไม่ทางตรงก็ทางอ้อม


              ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศมีทั้งทางบวกและทางลบ ทางบวกทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ดีช่วยส่งเสริมให้มี ประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้เกิดการผลิตในอุตสาหกรรม ส่งเสริมให้เกิดกาค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่ ส่งเสริมสุขภาพและ ความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ทางลบทำให้เกิดอาชญากรรม ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย ทำให้เกิดการเสี่ยงภัยทางด้านธุรกิจ ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ข้อมูลข่าวสารของธุรกิจฝากไว้ในศูนย์ข้อมูล หากข้อมูลเกิดการสูญหาย ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโดยตรง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตามคำสั่ง การนำมาใช้ในทางใดจึงขึ้นอยู่กับผู้ใช้ จริยธรรมการใช้คอมพิวเตอร์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องปลูกฝังให้กับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้รู้จักการใช้งานที่เหมาะสม ในเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศก็จำเป็นต้องปลูกฝังเช่นเดียวกัน เพื่อให้ผู้ใช้นำไปใช้งานที่เป็นประโยชน์เชิงสร้างสรรค์หรือทางบวก มิใช่นำไปใช้ในทางที่ไม่ดีอย่างเช่นที่เกิดขึ้นเสมอๆ

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง กระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศหรือข่าวสารที่ต้องการ โดยจะรวมถึง

1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์คมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟต์แวร์ทั้งระบบสำเร็จรูปและพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะด้าน

2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน รวบรวมข้อมูล จัดเก็บประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป

 

ในปัจจุบันการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกองค์กร การเชื่อมโยงสารสนเทศผ่านทางคอมพิวเตอร์ ทำให้สิ่งที่มีค่ามากที่สุดของระบบ คือ ข้อมูลและสารสนเทศ อาจถูกจารกรรม ถูกปรับเปลี่ยน ถูกเข้าถึงโดยเจ้าของไม่รู้ตัว ถูกปิดกั้นขัดขวางให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ หรือถูกทำลายเสียหายไป ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ยากบนโลกของเครือข่าย โดยเฉพาะเมื่อยู่บนอินเทอร์เน็ต

ดังนั้นการมีคุณธรรม และจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน มีรายละเอียดดังนี้

 

1.ไม่ควรให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ

2.ไม่บิดเบือนความถูกต้องของข้อมูล ให้ผู้รับคนต่อไปได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง

3.ไม่ควรเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

4.ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลกับผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต

5.ไม่ทำลายข้อมูล

6.ไม่เข้าควบคุมระบบบางส่วน หรือทั้งหมดโดยไม่ได้รับอนุญาต

7.ไม่ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจว่าตัวเองเป็นอีกบุคคลหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การปลอมอีเมล์ของผู้ส่งเพื่อให้ผู้รับเข้าใจผิด เพื่อการเข้าใจผิด หรือ ต้องการล้วงความลับ

8.การขัดขวางการให้บริการของเซิร์ฟเวอร์ โดยการทำให้มีการใช้ทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์จนหมด หรือถึงขีดจำกัดของมัน ตัวอย่างเช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือ อีเมล์เซิร์ฟเวอร์ การโจมตีจะทำโดยการเปิดการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์จนถึงขีดจำกัดของเซิร์ฟเวอร์ ทำให้ผู้ใช้คนอื่นๆไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้

9.ไม่ปล่อย หรือ สร้างโปรแกรมประสงค์ร้าย (Malicious Program) ซึ่งเรียกย่อๆว่า (Malware) เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำการ ก่อกวน ทำลาย หรือทำความเสียหายระบบคอมพิวเตอร์
เครือข่าย โปรแกรมประสงค์ร้ายที่แพร่หลายในปัจจุบันคือ ไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน

10.ไม่ก่อความรำคาญให้กับผู้อื่น โดยวิธีการต่างๆ เช่น สแปม (Spam) (การส่งอีเมลไปยังผู้ใช้จำนวนมาก โดยมีจุดประสงค์เพื่อการโฆษณา)

11.ไม่ผลิตหรือใช้สปายแวร์ (Spyware) โดยสปายแวร์จะใช้ช่องทางการเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ตเพื่อแอบส่งข้อมูลส่วนตัวของผู้นั้นไปให้กับบุคคลหรือองค์กรหนึ่งโดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบ
 

 

จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มีความประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อบังคับของ เครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะต้องเดินทางผ่านเครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่ายการใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไปเป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข Arlene H.Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดาแอตแลนติก จึงรวบรวมกฎกติกามารยาทและวางเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Netiquette ไว้ดังนี้

จรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เป็นบทการปฏิบัติเพื่อเตือนความจำ
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกามารยาท 

จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์ของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการวางระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ชัดเจน เพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหากการละเมิดรุนแรงกฎหมายก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน 

กฎหมายและศีลธรรม (Motal) เป็นกฏเกณฑ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรของสังคมมาช้านานเราพอเข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า รัฐเป็นผู้ตรากฏหมายขึ้นเพื่อใช้บังคับพลเมืองในอาณาเขตของรัฐ ขณะศีลธรรมเป็นข้อบัญญัติทางศาสนาซึ่งเป็นหลักความเชื่อของประชาชน จริยธรรม (Ethics) เป็นเรื่องของการกำหนดความถูกต้องดีงาม สิ่งที่ไม่ควรทำ มีหลักปฏิบัติในระดับที่สูงกว่ามารยาทในสังคม เช่น คนที่ไม่ยอมเข้าแถวเพื่อขอรับบริการตามสิทธิ์ก่อนหลังอาจถือว่าไม่มีมารยาทหรือพนักงานคอมพิวเตอร์คนหนึ่งเอาข้อมูลทางการเงินของลูกค้าที่เขาจะต้องเห็นตามหน้าที่การงานไปหาผลประโยชน์แก่ตนเอง เช่น ขายรายชื่อนั้นให้ธุรกิจอื่น หรือบอกให้แก่คู่สมรสซึ่งเป็นพนักงานขายตรงไปเสนอขายสินค้า การกระทำเช่นนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง ไม่มีจริยธรรม จริงอยู่ แม้ว่าบริษัทที่พนักงานผู้นั้นทำงานอยู่จะไม่เสียหาย แต่การนำเอาของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจทำได้อย่างเปิดเผย หรือพนักงานขายสินค้าของทางบริการหนึ่งซึ่งลาออกจากบริษัทเพื่อไปทำงานกับบริษัทคู่แข่งแล้วใช้ประโยชน์จากความรู้ในเรื่องข้อมูลราคาหรือความลับทางการค้าของบริษัทแรกไปให้บริษัทหลัง ก็อาจเรียกได้ว่าพนักงานคนนั้นไม่มีจริยธรรม เมื่อสังคมสลับซับซ้อนขึ้น มีการแบ่งหน้าที่กันออกเป็นหน้าที่ต่าง ๆ จึงมีข้อกำหนดที่เรียกว่า “จรรยาวิชาชีพ” (Code of Conduct) ขึ้น เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติของคนในอาชีพนั้น ๆ เราคงเคยได้ยิน จรรยาบรรณของแพทย์ ที่จะไม่เปิดเผยเรื่องราวส่วนตัวของคนไข้ จรรยาบรรณของนักหนังสือพิมพ์ที่รับเงินทองสิ่งตอบแทนเพื่อเสนอข่าวหรือไม่เสนอข่าวไม่เปิดเผยแหล่งข่าวถ้าแหล่งข่าวไม่ต้องการจรรยาบรรณวิชาชีพของสถาปนิกหรือวิศวกรผู้ออกแบบที่ต้องไม่รับผลประโยชน์ใด ๆ จากผู้ขายอุปกรณ์ที่ใช้ในงานที่เขาออกแบบ ซึ่งขายให้กับผู้ว่าจ้างงานชิ้นนั้นเพราะเขาได้รับปลตอบแทนจากผู้ว่าจ้างแล้ว จรรยาบรรณของวิชาชีพใด ก็มักกำหนดขึ้นโดยสมาคมวิชาชีพนั้น โดยมีข้อกำหนด บทลงโทษที่นอกเหนือไปจากกฏหมายบ้านเมือง เช่น เพิกถอนสมาชิกภาพ เพิกถอนหรือพักใบประกอบวิชาชีพ และอาจมีกฏหมายรองรับอีกด้วย อาชีพนักคอมพิวเตอร์ เป็นอาชีพใหม่ในสังคมสารสนเทศ การใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ ก็เป็นสิ่งใหม่ที่มีศีลธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณเฉพาะของตนซึ่งบางครั้งก็แตกต่างจากจริยธรรมที่ยอมรับกันมาแต่ก่อน หลักพื้นฐานของจริยธรรมในสังคมสารสนเทศก็คือการเคารพผู้อื่น เคารพความเป็นส่วนตัว การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลก็จะเฉพาะสิทธิ์ที่ตนเองมีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน
ลินดา เฮอร์นดอน ได้กล่าวถึงบัญญัติสิบประการของการใช้คอมพิวเตอร์ไว้ดังนี้
1. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่น
2. ไม่รบกวนจนงานคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
3. ไม่แอบดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อลักขโมย
5. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพยานเท็จ
6. ไม่ใช้หรือทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ตนไม่ได้ซื้อสิทธิ์
7. ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจหน้าที่
8. ไม่ฉวยเอาทรัพย์ทางปัญญาของผู้อื่นมาเป็นของตน
9. คิดถึงผลต่อเนื่องทางสังคมของโปรแกรมที่เขียน
10. ใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่แสดงถึงความใคร่ครวญและเคารพ จรรยาวิชาชีพ ของสมาชิกสมาคมเครื่องจักรกลคอมพิวเตอร์ (Association of ComputerMachinery ACM Code of Conduct) ซึ่งเป็นสมาคมวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งมีดังนี้
1. กฏข้อบังคับทางศีลธรรมทั่วไป1. ทำประโยชน์ให้สังคมและความผาสุกของมนุษย์ ข้อนี้เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของประชาชนทุกคนคุ้มครองหลักสิทธิมนุษยชน ขั้นพื้นฐาน เคารพความหลากหลายของวัฒนธรรมทั้งหมด ลดผลด้านลบของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม
2. ไม่ทำอันตรายแก่ผู้อื่น อันตรายหมายรวมถึง การบาดเจ็บหรือผลต่อเนื่องด้านลบ เช่น การสูญเสียข้อมูลอันเป็นที่ไม่พึงปรารถนา ทรัพย์สินสูญหายหรือเสียหาย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่พึงปรารถนา หลักการข้อนี้ห้ามการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไปทำอันตรายต่อผู้ใช้สาธารณชน พนักงานและนายจ้างอันตรายนี้รวมถึงการจงใจทำลายหรือแก้ไขข้อมูลในแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมที่ทำให้สูญเสีย หรือเสียเวลาและความพยายามของบุคลากรที่จำเป็นต้องใช้ทำลายไวรัสคอมพิวเตอร์ในสภาพแวดล้อมที่ทำงาน นักวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะต้องรายงานสัญญาณอันตรายที่อาจก่อให้เกิดผลต่อความเสียหายของสังคมและบุคคล แม้ว่าหัวหน้างานจะไม่ลงมือแก้ไขหรือลดทอนอันตรายนั้น ก็อาจจำเป็นต้องแจ้งให้ผู้อื่นที่เกี่ยวข้องทราบโดยอาจอาศัยผู้ร่วมวิชาชีพเป็นผู้ให้คำปรึกษา
3. ซื่อสัตย์และไว้วางใจได้ นักคอมพิวเตอร์ที่ซื่อสัตย์นอกจากจะไม่จงใจแอบอ้างระบบหรือการออกแบบที่หลอกลวงอันเป็นเท็จแล้ว ยังจะต้องเปิดเผยอย่างเต็มที่ให้เห็นข้อจำกัดและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบทั้งหมดอีกด้วย
4. ยุติธรรมและการกระทำที่ไม่แบ่งแยกกีดกัน ข้อบังคับข้อนี้ใช้คุณค่าของความเสมอภาค ความใจกว้างให้อภัย เคารพในผู้อื่น ความเที่ยงธรรม การแบ่งแยกกีดกันโดยเชื้อชาติ เพศ ศาสนา อายุ ความพิการ สัญชาติ หรือปัจจัยอื่นเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้
5. ให้เกียรติสิทธิในทรัพย์สิน รวมทั้งลิขสิทธิ์และสิทธิ์บัตร แม้ว่าสิ่งซึ่งมีลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ความลับทางการค้า การละเมิดข้อตกลงการใช้สิทธิ จะได้รับการคุ้มครองทางกฏหมายอยู่แล้ว แม้แต่ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับการคุ้มครอง การละเมิดก็ถือว่าเป็นการขัดต่อการประพฤติทางวิชาชีพ การลอกหรือทำสำเนาซอฟต์แวร์จะต้องทำโดยมีอำนาจหน้าที่เท่านั้น การทำสำเนาวัสดุใด ๆ เป็นสิ่งที่ให้อภัยไม่ได้
6. ให้เกียรติแก่ทรัพย์สินทางปัญญา นักวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะต้องป้องกันหลักคุณธรรมของทรัพย์สินทางปัญญา แม้ว่างานนั้นจะไม่ได้รับการป้องกันอย่างเปิดเผยก็ตาม เช่น งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร
7. เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น หลักการนี้ยังหมายถึง การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในระบบเท่าที่จำเป็น มีระยะเวลากำหนดการเก็บรักษาและทิ้งอย่างชัดเจน และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อวัตถุประสงค์หนึ่ง ข้อมูลนั้นจะถูกนำไปใช้ เพื่อการอื่นโดยไม่ได้รับคำยินยอมจากผู้นั้นมิได้
8. ให้เกียรติในการรักษาความลับ หลักแห่งความซื่อสัตย์ข้อนี้ขยายไปถึงความลับของข้อมูลที่ไม่ว่าจะแจ้งโดยเปิดเผยหรือสัญญว่าจะปกปิดเป็นความลับ หรือโดยนัยเมื่อข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ของผู้นั้นปรากฏขึ้น จริยธรรมข้อนี้เกี่ยวข้องกับการเคารพข้อบังคับทั้งหลายที่เกี่ยวกับความลับของขายจ้าง ลูกค้า ผู้ใช้ เว้นเสียแต่เปิดเผยโดยกฏหมายบังคับหรือตามหลักแห่งจรรยาบรรณนี้
2. ความรับผิดชอบในวิชาชีพ1. มุ่งมั่นเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีที่สุด และให้ตระหนักถึงผลเสียหายที่สืบเนื่องจากระบบที่ด้อยคุณภาพ2. ได้มาและรักษาไว้ซึ่งความเชี่ยวชาญแห่งวิชาชีพ3. รับรู้และเคารพกฎหมายท้องถิ่น กฎหมายแห่งรัฐ และกฎหมายระหว่างประเทศ4. ยอมรับและจัดให้มีการสอบทานทางวิชาชีพ (Professional Review) 5. ให้ความเห็นประเมินระบบคอมพิวเตอร์และผลกระทบอย่างละเอียดครบถ้วน รวมทั้งการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เป็นไปได้ 6. ให้เกียรติ รักษาสัญญา ข้อตกลง และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย 7. ปรับปรุงความเข้าใจของสาธารณชนต่อคอมพิวเตอร์และผลสืบเนื่อง8. เข้าถึงทรัพยากรคอมพิวเตอร์และสื่บสารเฉพาะเมื่อได้รับมอบอำนาจตามหน้าที่เท่านั้นไม่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ซอฟต์แวร์ แฟ้มข้อมูลใด ๆ โดยไม่ได้ขออนุญาต
3. จริยธรรมในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส 1. ไม่โฆษณาหรือเสนอขายสินค้า 2. รู้ตัวว่ากำลังกล่าวอะไร 3. ถ้าไม่เห็นด้วยกับหลักพื้นฐานของรายชื่อกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก ก็ควรออกจากกลุ่มไม่ควรโต้แย้ง 4. คิดก่อนเขียน 5. อย่าใช้อารมณ์ 6. พยายามอ่านคำถามที่ถามบรอย (FAQ) ก่อนเสมอ 7. ไม่ส่งข่าวสารที่กล่าวร้าย หลอกลวง หยาบคาย ข่มขู่ 8. ไม่ส่งต่อจดหมายลูกโซ่ หรือเมล์ขยะ 9. ถ้าสงสัยไม่ทำดีกว่า 10. รู้ไว้ด้วยว่าสำหรับผู้เขียน คือ บันทึกฉันท์เพื่อน แต่สำหรับผู้รับ คือ ข้อความที่จารึกไว้บนศิลาจารึก 11. ให้ความระมัดระวังกับคำเสียดสี และอารมณ์ขัน 12. อ่านข้อความในอีเมล์ ให้ละเอียดก่อนส่ง ความประณีตและตัวสะกด การันต์ เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง 13. ดูรายชื่อผู้รับให้ดีว่า เขาคือคนที่เราตั้งใจจะส่งไปถึง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น