ศิลปวัฒนธรรมเป็นมรดกของชาติที่มีการสร้างสรรค์และสืบทอดกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน จนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง และกลายเป็นเอกลักษณ์ประการหนึ่งของชนในชาตินั้นๆ โดยแต่เดิมศิลปินมีแนวคิดในเรื่องศิลปะบริสุทธิ์ หรือศิลปะเพื่อศิลปะ และศิลปินที่มีอุดมคตินิยมดังกล่าวมักหมิ่นแคลนผลงานของศิลปินบางกลุ่มที่ทำงานศิลปะเพื่อการดำรงชีวิตว่าเป็นงานพาณิชยศิลป์ โดยมิได้คำนึงถึงสภาพของสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ขณะที่วัฒนธรรมเองก็ได้กลายเป็นสินค้าออกที่สำคัญของหลายๆ ประเทศ
สภาพของสังคมในเวลานี้ ระบบเศรษฐกิจได้เข้ามาเป็นตัวกำหนดการผลิต และส่งผลไปถึงด้านการตลาด การจำหน่าย การประชาสัมพันธ์ และการสร้างค่านิยม ซึ่งกระบวนการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “กระแส” หรือ wave ที่สร้างความคลั่งไคล้ในคนบางกลุ่ม แต่กระแสเหล่านั้นมักมุ่งผลในด้านการจำหน่าย มากกว่าสุนทรียภาพของงาน และการ "โดนใจ” ชั่ววูบ มากกว่าความลึกซึ้งที่ยั่งยืน
เกาหลีใต้มักจะเป็นประเทศต้นแบบของการนำศิลปวัฒนธรรมมาแปรรูปเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม ซึ่งหากย้อนไปมองแนวคิดของเกาหลีใต้ในเรื่องดังกล่าว จะพบว่ามีปัจจัยอยู่ 5 ประการ อันได้แก่ 1.นวัตกรรม ได้แก่การริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ด้วยความคิดที่แตกต่างไปจากเดิม 2.ภูมิหลังทางวัฒนธรรม ได้แก่ขนบธรรมเนียม ประเพณี ประวัติศาสตร์ คตินิยม พื้นฐานการดำเนินชีวิต เช่นครอบครัว อาหารการกิน ยารักษาโรค การทำมาหากิน เป็นต้น 3.เทคโนโลยีทางวัฒนธรรม เป็นการนำวิทยาการสมัยใหม่มารองรับการผลิตและการเผยแพร่วัฒนธรรม 4.ให้การสนับสนุนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สินค้าวัฒนธรรมมีความเข้มแข็ง และความสามารถในการแข่งขัน จำเป็นต้องมีการวิจัยและพัฒนา ทั้งในด้านคุณภาพของบุคลากรการหาแหล่งเงินทุน มาตรการด้านภาษีและกฎหมาย การสร้างเครือข่าย และการผลักดันสินค้าวัฒนธรรมออกสู่ตลาดโลก และ 5.กระบวนการผลิต ตั้งแต่เริ่มต้นจนสินค้าไปถึงผู้บริโภค
จากปัจจัย 5 ประการ ได้ทำให้เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง มีการประมาณการว่า ในปี ค.ศ.2030 เกาหลีจะสามารถส่งออกสินค้าวัฒนธรรม ทั้ง ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ ดนตรี การแสดง แฟชั่น การท่องเที่ยว รวมทั้งสินค้าวัฒนธรรมอื่นๆ ได้ประมาณ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์ และก่อให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 1.6 ล้านคน ซึ่งยังไม่รวมถึงการจำหน่ายสินค้าต่างๆ ของเกาหลี เช่นรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องสำอาง และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งติดตามมากับกระแสคลั่งวัฒนธรรมเกาหลี
กระแสเกาหลีนั้นเริ่มขึ้นเมื่อ 15 ปีที่แล้ว แต่ยังคงแรงแบบรั้งไม่หยุด ยุดไม่อยู่ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นเพียงความบังเอิญหรือโชคช่วย หากเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย วางแผน และพัฒนา อย่างเป็นระบบ ถ้ามองเกาหลีใต้ให้ไกลไปกว่านั้น ก็จะพบว่าแต่เดิมเกาหลีใต้ก็เคยเป็นประเทศที่ยากจน การเมืองมีความแตกแยก ประชาชนท้อแท้สิ้นหวัง และหันหน้าเข้าหาสุรายาเมา สินค้าส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากญี่ปุ่นและสหรัฐ แต่เมื่อบ้านเมืองมีความมั่นคง ชั่วเวลาเพียงไม่นาน เกาหลีใต้ก็กลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ รายใหญ่ของโลก
ประเทศไทยของเรานั้น บริโภคสินค้าญี่ปุ่นมานานพอๆ กับเกาหลีใต้ โดยไม่มีความคิดว่าจะเป็นผู้ผลิตเอง หรือมียี่ห้อของตนเอง อย่างที่เกาหลีใต้ทำ และเวลานี้ เราก็บริโภคสินค้าวัฒนธรรมเกาหลีอย่างโหยกระหาย ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีวัฒนธรรมดีๆ มากมายกว่าเกาหลีหลายต่อหลายเท่า ผมคิดว่าน่าจะถึงเวลาที่คนไทยจะต้องถามตัวเองว่า เราจะเป็นทาสของการบริโภคสินค้าวัฒนธรรมของคนอื่นไปตลอดชาติ หรือเราควรจะหันมาเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าวัฒนธรรมของเราเองกันอย่างจริงจังเสียที
สภาพของสังคมในเวลานี้ ระบบเศรษฐกิจได้เข้ามาเป็นตัวกำหนดการผลิต และส่งผลไปถึงด้านการตลาด การจำหน่าย การประชาสัมพันธ์ และการสร้างค่านิยม ซึ่งกระบวนการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “กระแส” หรือ wave ที่สร้างความคลั่งไคล้ในคนบางกลุ่ม แต่กระแสเหล่านั้นมักมุ่งผลในด้านการจำหน่าย มากกว่าสุนทรียภาพของงาน และการ "โดนใจ” ชั่ววูบ มากกว่าความลึกซึ้งที่ยั่งยืน
เกาหลีใต้มักจะเป็นประเทศต้นแบบของการนำศิลปวัฒนธรรมมาแปรรูปเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม ซึ่งหากย้อนไปมองแนวคิดของเกาหลีใต้ในเรื่องดังกล่าว จะพบว่ามีปัจจัยอยู่ 5 ประการ อันได้แก่ 1.นวัตกรรม ได้แก่การริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ด้วยความคิดที่แตกต่างไปจากเดิม 2.ภูมิหลังทางวัฒนธรรม ได้แก่ขนบธรรมเนียม ประเพณี ประวัติศาสตร์ คตินิยม พื้นฐานการดำเนินชีวิต เช่นครอบครัว อาหารการกิน ยารักษาโรค การทำมาหากิน เป็นต้น 3.เทคโนโลยีทางวัฒนธรรม เป็นการนำวิทยาการสมัยใหม่มารองรับการผลิตและการเผยแพร่วัฒนธรรม 4.ให้การสนับสนุนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สินค้าวัฒนธรรมมีความเข้มแข็ง และความสามารถในการแข่งขัน จำเป็นต้องมีการวิจัยและพัฒนา ทั้งในด้านคุณภาพของบุคลากรการหาแหล่งเงินทุน มาตรการด้านภาษีและกฎหมาย การสร้างเครือข่าย และการผลักดันสินค้าวัฒนธรรมออกสู่ตลาดโลก และ 5.กระบวนการผลิต ตั้งแต่เริ่มต้นจนสินค้าไปถึงผู้บริโภค
จากปัจจัย 5 ประการ ได้ทำให้เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง มีการประมาณการว่า ในปี ค.ศ.2030 เกาหลีจะสามารถส่งออกสินค้าวัฒนธรรม ทั้ง ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ ดนตรี การแสดง แฟชั่น การท่องเที่ยว รวมทั้งสินค้าวัฒนธรรมอื่นๆ ได้ประมาณ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์ และก่อให้เกิดการจ้างงานมากกว่า 1.6 ล้านคน ซึ่งยังไม่รวมถึงการจำหน่ายสินค้าต่างๆ ของเกาหลี เช่นรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องสำอาง และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งติดตามมากับกระแสคลั่งวัฒนธรรมเกาหลี
กระแสเกาหลีนั้นเริ่มขึ้นเมื่อ 15 ปีที่แล้ว แต่ยังคงแรงแบบรั้งไม่หยุด ยุดไม่อยู่ เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นเพียงความบังเอิญหรือโชคช่วย หากเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย วางแผน และพัฒนา อย่างเป็นระบบ ถ้ามองเกาหลีใต้ให้ไกลไปกว่านั้น ก็จะพบว่าแต่เดิมเกาหลีใต้ก็เคยเป็นประเทศที่ยากจน การเมืองมีความแตกแยก ประชาชนท้อแท้สิ้นหวัง และหันหน้าเข้าหาสุรายาเมา สินค้าส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากญี่ปุ่นและสหรัฐ แต่เมื่อบ้านเมืองมีความมั่นคง ชั่วเวลาเพียงไม่นาน เกาหลีใต้ก็กลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ รายใหญ่ของโลก
ประเทศไทยของเรานั้น บริโภคสินค้าญี่ปุ่นมานานพอๆ กับเกาหลีใต้ โดยไม่มีความคิดว่าจะเป็นผู้ผลิตเอง หรือมียี่ห้อของตนเอง อย่างที่เกาหลีใต้ทำ และเวลานี้ เราก็บริโภคสินค้าวัฒนธรรมเกาหลีอย่างโหยกระหาย ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีวัฒนธรรมดีๆ มากมายกว่าเกาหลีหลายต่อหลายเท่า ผมคิดว่าน่าจะถึงเวลาที่คนไทยจะต้องถามตัวเองว่า เราจะเป็นทาสของการบริโภคสินค้าวัฒนธรรมของคนอื่นไปตลอดชาติ หรือเราควรจะหันมาเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าวัฒนธรรมของเราเองกันอย่างจริงจังเสียที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น