การกำหนดวิสัยทัศน์ ( Vision)
วิสัยทัศน์ (Vision) หมายถึง สภาพการณ์ที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต (ต้องการเป็นอะไร) วิสัยทัศน์ที่ดี มีลักษณะ ดังนี้
1. เป็นข้อความที่เข้าใจง่าย แสดงให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายและทิศทาง 2.
2. มีความเป็นไปได้ในการบรรลุถึง ภายในระยะเวลาที่กำหนด 3.
3. สร้างแรงบันดาลใจ (ท้าทาย เร้าใจ)
4. สอดคล้องกับขนมธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของสังคม 5.
5.วัดผลสำเร็จได้
6. เป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง
ในการกำหนดวิสัยทัศน์นั้น จะต้องศึกษาวิเคราะห์ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ดังนี้
วิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค (SWOT analysis)
- จุดแข็ง (Strength-S)
- จุดอ่อน (Weakness-W)
- โอกาส (Opportunity-O)
- อุปสรรค (Threat-T)
จุดแข็ง หมายถึง ทรัพยากรด้านต่างๆ ที่ได้เปรียบหรือส่วนที่เข้มแข็งภายในองค์กร ที่สามารถใช้ประโยชน์เพื่อผลักดันให้องค์การสามารถดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์และภารกิจขององค์การ เช่น ด้านโครงสร้าง ด้านระบบงาน ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านกฎหมาย
จุดอ่อน หมายถึง ข้อเสียเปรียบ ข้อผิดพลาดในองค์การที่เป็นข้อด้อยหรือเป็นข้อจำกัดต่างๆ ที่ส่งผลทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์และภารกิจขององค์การ เช่น ด้านโครงสร้าง ด้านระบบงาน ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านกฎหมาย
โอกาส หมายถึง สถานการณ์หรือปัจจัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อมที่มีลักษณะเกื้อกูลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์และภารกิจขององค์การ เช่น สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมือง ด้านเทคโนโลยี เป็นต้น สภาพแวดล้อมการดำเนินงานได้แก่ ด้านลูกค้า ด้านสถานภาพการแข่งขัน ด้านผู้สนับสนุนปัจจัย ด้านแรงงาน ด้านสถานการณ์นานาชาติ เป็นต้น
อุปสรรค หมายถึง สถานการณ์หรือปัจจัยที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีลักษณะเป็นอุปสรรคขัดขวาง หรือทำให้เกิดผลเสียหาย ผลกระทบในทางลบต่อการบริหารงานขององค์การ เช่น สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมือง ด้านเทคโนโลยี เป็นต้น สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน ได้แก่ ด้านลูกค้า ด้านสถานภาพการแข่งขัน ด้านผู้สนับสนุนปัจจัยด้านแรงงาน ด้านสถานการณ์นานาชาติ เป็นต้น
การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength-S) และจุดอ่อน (Weakness-W) เป็นการการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน ส่วนการวิเคราะห์โอกาส (Opportunity-O) และอุปสรรค (Threat-T) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก
การกำหนดพันธกิจหรือภารกิจหลัก ( Mission )
พันธกิจหรือภารกิจหลัก หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักของ อปท. ที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (ต้องทำอะไรถึงจะบรรลุวิสัยทัศน์)
การกำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา ( Goal)
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา (Goal) หมายถึง การระบุสภาพที่ต้องการให้สำเร็จ (ทำเพื่อให้เกิดอะไร ถึงจะบรรลุวิสัยทัศน์) ในการกำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาจะต้องกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการปฏิบัติงานด้วย
ดัชนี/ตัวชี้วัดความสำเร็จของการปฏิบัติงาน ( Key Performance Indicators)
ดัชนี/ตัวชี้วัดความสำเร็จของการปฏิบัติงาน (Key Performance Indicators หรือ KPI) หมายถึง สิ่งที่สะท้อนถึงความสำเร็จของการปฏิบัติงานซึ่งสังเกตได้/วัดได้/นับได้กระบวนการปฏิบัติงาน
เนื่องจากกระบวนการปฏิบัติงานตามทฤษฎีระบบ (System Theory) ประกอบด้วย ปัจจัยป้อนเข้า (Inputs) กระบวนการ (Processes) ผลสัมฤทธิ์ (Resalts) ซึ่งผลสัมฤทธิ์จะประกอบด้วย ผลผลิต (outputs) และผลลัพธ์ (outcomes)
ดังนั้น การกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการปฏิบัติงานจึงอาจกำหนดได้ ดังนี้
1. ตัวชี้วัดปัจจัยนำเข้า (Input Indicators)
2. ตัวชี้วัดกระบวนการ (Process Indicators)
3. ตัวชี้วัดผลผลิต (Output Indicators)
4. ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (Outcome Indicators)
การกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการปฏิบัติงานจะต้องอธิบายให้ละเอียดและชัดเจนเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และสามารถวัดได้ถูกต้องตรงตามความต้องการ ดังนั้น การกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการปฏิบัติงานอย่างน้อยควรมีการอธิบายถึงรายละเอียดของตัวชี้วัด ดังนี้
1. กำหนดนิยามขอบเขตความหมายของตัวชี้วัด
2. กำหนดหน่วยวัด
3. วิธีการวัด/การคำนวณ
4. กำหนดเป้าหมาย/เกณฑ์
5. มีข้อมูลปัจจุบัน (ข้อมูลพื้นฐาน)
6. แหล่งข้อมูล/วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
7. ความถี่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น