วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 7 อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์



    อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง

    ในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์

    โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้

อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่
  1. การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
     
  2. การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
     
  3. การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
     
  4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
     
  5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง
     
  6. ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด

บทที่ 7 หลักความจริงข้อมูล

หลักความจริงข้อมูล


ทัศนะเกี่ยวกับความจริงและสิ่งที่เป็นจริง
     ความจริง (truth) หรือ “สัจจะ” มีลักษณะเป็นนามธรรม เมื่อเราพูดถึงความจริงของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเรามักหมายถึง หลักการที่มีอยู่แน่นอนมั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลงของสิ่งนั้น เช่น “ชีวิตเป็นทุกข์” “สังขารเป็นของไม่เที่ยง” “ไม่มีอะไรเกิดจากความว่างเปล่า” ล้วนแต่เป็นการบอก “ความจริง” ทั้งสิ้น

ความจริงเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับความรู้ เพราะเมื่อเราบอกว่าเรามีความรู้ ก็คือเรารู้ความจริงหรือเข้าถึงความจริงของสิ่งที่เป็นจริง (แต่อย่าลืมว่า ความจริงก็มีหลายระดับ) ดังนั้น การจะเข้าใจว่า สิ่งที่เป็นจริง หรือ reality คืออะไร และการเข้าถึงสิ่งที่เป็นจริงหรือสิ่งที่มีอยู่จริงนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่า สิ่งที่มีอยู่ (being) ในจักรวาลมีอยู่ 2 สภาวะ คือ
1. สภาวะที่ปรากฏ (appearance) หรือ มายาภาพ คือ สิ่งที่มนุษย์รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
2. สภาวะความเป็นจริง (reality) หรือ สัจจะภาวะ คือ สิ่งที่เป็นจริงที่อยู่เบื้องหลังสภาวะที่ปรากฏโดยไม่บิดเบือนหรือผันแปรไปตามการรับรู้ของบุคคล

ดังนั้น การรู้ “ความจริง” ก็คือ การรู้ที่ตรงกับสภาวะความเป็นจริง ไม่ใช่รู้เพียงสภาวะที่ปรากฏ การรู้ความจริงของสภาวะความเป็นจริงเท่านั้นที่จะเรียกได้ว่าเป็น “ความรู้” (ในขณะที่การรู้สภาวะที่ปรากฏ เป็นเพียงการเห็น หรือข้อมูล)

ทัศนะแบบจิตนิยม (idealism)
เป็นแนวคิดที่เชื่อว่าสิ่งที่เป็นความจริงเนื้อแท้นั้น มิได้มีเพียง สสารหรือวัตถุเท่านั้น หากแต่ยังมี อสสาร (immaterial) อีกด้วย กล่าวคือ อสสาร เป็นสิ่งไม่กินที่ ไม่กินเวลา อยู่พ้นโลกวัตถุออกไป มีอยู่ด้วยตนเอง ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ถูกจำกัดด้วยกาละ (time) และเทศะ (space) เป็นหลักการสำคัญที่ทำให้โลก มนุษย์และสรรพสิ่งมีระบบ ระเบียบ มีกฎเกณฑ์ มีความสม่ำเสมอ

นอกจากนี้สิ่งเหนือธรรมชาติเหนือประสาทสัมผัส (unseen world) ก็จัดเป็น อสสาร ตามกรอบแนวคิดแบบจิตนิยมด้วย ในขณะที่ ค่านิยม (values) เช่น ความดี ความงาม ความถูกต้อง ความยุติธรรม ที่ปรากฏอยู่ในโลก นักจิตนิยมก็เห็นว่ามีต้นกำเนิดอยู่ที่ อสสาร นั่นเอง
ดังนั้น ทัศนะแบบจิตนิยมจึงท่าทีต่อค่านิยม เช่น ความดี ว่ามีคุณค่าในตัวเอง แม้ไม่มีใครรู้เห็น คุณค่าเหล่านั้นก็ไม่ได้สูญหายไป ขณะเดียวกันก็มีท่าทีต่อการแสวงหาความสุขทางกาย ว่าเป็นสิ่งไม่พึงประสงค์
นักคิดในลัทธิจิตนิยมเห็นว่าโลก มนุษย์และสรรพสิ่งล้วนแต่ไม่สมบูรณ์ ไม่เที่ยง มีการผันแปรเปลี่ยนแปลงไปตามกาละ เทศะ แต่ก็ยังมีอีกโลกหนึ่งที่จริง สมบูรณ์ คงอยู่นิรันดร์ ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม ดังเช่น “แบบ” และ “ทฤษฎีแบบ” ของพลาโต (Plato)

ทฤษฎีแบบของพลาโต (Theory of Ideas)
พลาโตเห็นว่า ยังมีอีกโลกหนึ่งที่เรียกว่า โลกแห่งแบบ (World of Ideas) ที่สมบูรณ์ ดีงาม จริงแท้ ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่สูญสลาย ไม่ถูกทำลาย ดำรงอยู่ได้ด้วยตัวเอง และเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งในโลกมนุษย์ แต่แบบและโลกแห่งแบบนั้น ไม่อาจสัมผัสหรือรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส เพราะเป็น “อสสาร”
“แบบ” เป็นความจริงสูงสุดในทัศนะของพลาโต ซึ่งแบบจะอยู่แยกออกไปจากโลกมนุษย์ คือ อยู่ใน โลกแห่งแบบ นั่นเอง
พลาโตเชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีแบบ ซึ่งก็คือลักษณะร่วมทั้งทางคุณภาพและโครงสร้างของสิ่งหนึ่ง ๆ แบบทำให้เรามีความเข้าใจและคิดถึงสิ่งหนึ่ง ๆ ได้ตรงกัน เช่น “แมว” แม้ว่าจะมีหลากสีหลายพันธุ์ แต่สิ่งที่ทำให้เราบอกว่าสิ่งมีชีวิตนั้นคือ “แมว” ก็คือสิ่งที่พลาโตเรียกว่า “แบบ” ของแมว จึงเห็นว่าแบบของแมวทำให้เราเข้าใจแมวตรงกัน
เราจะเห็นได้ชัดขึ้นเมื่อเราจะเปรียบเทียบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราก็มักจะใช้แบบของสิ่งนั้น ๆ เป็นมาตรฐานในการตัดสิน เช่น การเปรียบเทียบว่าเสื้อตัวใด “ขาว” กว่ากัน คนที่จะตัดสินได้ก็ต้องมี “แบบของความขาว” เป็นแบบมาตรฐานอยู่แล้ว
พลาโตยืนยันว่าแบบของแมว แบบของความขาว แบบของความกลม แบบของคน ฯลฯ ล้วนแต่มีอยู่อย่างแท้จริงในโลกของแบบ มนุษย์จะรู้จะเข้าใจได้ก็ต้องอาศัยเหตุผลและภูมิปัญญา หากใช้เพียงประสาทสัมผัส มนุษย์ก็จะรู้เพียงภาพสะท้อนหรือ “เงา” ของความเป็นจริงเท่านั้น กล่าวได้ว่า พลาโตเสนอปรัชญาของเขาว่า “สรรพสิ่งในโลกมนุษย์เป็นเพียงภาพจำลองของแบบ หรือภาพสะท้อนของแบบ” แม้ว่าสิ่งเฉพาะในโลกจะสูญหาย/เปลี่ยนแปลงไป แต่แบบซึ่งเป็นสิ่งสากลยังคงดำรงอยู่ตลอดไป

ทัศนะแบบวัตถุนิยม (materialism)
ความจริงที่นักวัตถุนิยมเสนอก็คือ สสารและปรากฏการณ์ของสสารเท่านั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง สิ่งใดไม่สามารถสัมผัส แตะต้อง มองเห็นได้ สิ่งนั้นไม่มีอยู่จริง ลักษณะสำคัญ ๆ ของแนวคิดแบบจิตนิยม คือ

1. สิ่งที่เป็นจริงจะต้องสามารถค้นหาและตรวจสอบได้ด้วยวิธี ปรนัย หรือ ภววิสัย หรือ วัตถุวิสัย (objective) คือ มีความแน่นอนตายตัว ไม่ขึ้นอยู่กับผู้ค้นหา (แนวคิดนี้สอดคล้องกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์)
2. เป็นแบบนิยัตินิยม (determinism) คือ เชื่อว่าทุกเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างมีสาเหตุ ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นโดยบังเอิญ
3. ปฏิเสธความจริงในสิ่งเหนือธรรมชาติ ไม่ยอมรับว่า อสสารมีอยู่จริง
4. ยอมรับการทอนลง (reductionistic) เชื่อว่าทุกสิ่งสามารถทอนหรือย่อยลงจนเป็นสิ่งที่เล็กที่สุดได้ การเข้าใจส่วนย่อยจะทำให้เข้าใจส่วนใหญ่ได้ สรรพสิ่งแตกต่างกันเพียงปริมาณหรือความซับซ้อนของธาตุพื้นฐาน แต่คุณภาพไม่ต่างกัน
5. เห็นว่าค่านิยมต่าง ๆ เป็นสิ่งสมมติ ความดี ความงาม ไม่มีอยู่จริง

อาจกล่าวได้ว่าความจริง ในทัศนะของนักวัตถุนิยมคือ ไม่มีอะไรเกิดขึ้นใหม่ ไม่มีอะไรหายไป มีแต่การเปลี่ยนแปลงจำนวนและถิ่นที่อยู่ของวัตถุหรือสสารเท่านั้น

ทฤษฎีปรมาณู (อะตอม) : atomic theory
เดมอคริตุส (Democritus) เสนอว่า สรรพสิ่งในโลกสามารถทอนลงไปทีละครึ่ง ๆ จนถึงสิ่งที่เล็กที่สุดซึ่งไม่สามารถแบ่งแยกต่อไปได้ สิ่งนั้นถือเป็นความจริงสูงสุด มีลักษณะเป็นวัตถุหรือสสาร ที่เรียกว่า ปรมาณู หรือ “อะตอม” (atom) อะตอมเป็นมวลที่มีความอิ่มตัวเต็มที่ ไม่สามารถสร้างหรือทำลายลงได้ มีพลังขับเคลื่อนในตัวเองซึ่งขึ้นอยู่กับกฎของจักรกลอันเป็นธรรมชาติในตัวอะตอมเอง   ทุกสิ่งทุกอย่างจึงเป็นไปตามกฎจักรกล (mechanical law) ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นโดยไร้เหตุผล สรรพสิ่งเป็นไปตามเหตุปัจจัยและความจำเป็น เนื่องจากโลกและสรรพสิ่งเกิดขึ้น ดำรงอยู่และดำเนินไปอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย ไม่มีเจตจำนงเสรี แต่เป็นไปตามแรงผลักดันจากกฎของสสารและการเคลื่อนที่ ทำให้เราไม่สามารถตั้งคำถามได้ว่าโลกเกิดมาเพื่ออะไร จุดมุ่งหมายสูงสุดของมนุษยคืออะไร เป็นต้น
แต่เราก็ไม่อาจเรียก เดมอคริตุส ว่าเป็นนักวัตถุนิยมได้อย่างสมบูรณ์นัก เพราะแม้อะตอมจะเป็นสสาร แต่วิธีการเข้าถึงความจริงนั้นไม่สามารถกระทำได้ด้วยประสาทสัมผัส แต่ทำได้ด้วยการใช้ชีวิตให้เป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติซึ่งเป็นกฎเหตุผล การใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับเหตุผลจะทำให้เรารู้ว่าความสุขที่แท้จริงนั้นเป็นความสุขภายในที่ไม่อิงอาศัยวัตถุภายนอกใด ๆ
ทฤษฎีอะตอมไม่ได้รับความนิยมมากนัก เพราะประชาชนสมัยกรีกให้ความสนใจปัญหาเรื่องการมีชีวิตที่ดีและการดำรงอยู่ในสังคมตามแนวคิดของปรัชญาอย่างโสคราติส เพลโตและอริสโตเติล มากกว่า รวมทั้งตลอดสมัยกลางของยุโรป ปรัชญาก็วนเวียนอยู่ที่เรื่องของพระเจ้าและประสบการณ์ทางศาสนาที่อาศัยความศรัทธาและการค้นพบทางจิตวิญญาณตามแนวของศาสนาคริสต์เป็นหลัก กล่าวได้ว่าสมัยกลางก็ไม่ได้สนใจปรัชญาวัตถุนิยมเท่าที่ควรเช่นกัน
จนกระทั่ง ศตวรรษที่ 16 - 17 เกิดในปฏิวัติในวิชาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ โดยเฉพาะการค้นพบว่าโลกไม่ใช่ศูนย์กลางของเอกภพ การค้นพบดังกล่าวเป็นการลดความสำคัญของมนุษย์ในแนวคิดของศาสนาคริสต์อย่างมาก นอกจากนี้การค้นพบทางวิทยาศาสตร์หลาย ๆ ครั้งทำให้ผู้คนเห็นคล้อยตามว่าธรรมชาติก็คือระบบจักรวาล สรรพสิ่งสามารถแยกออกมาเป็นส่วนย่อย ๆ แล้วศึกษาหาความจริงจากคุณสมบัติย่อย ๆ เหล่านั้น
นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสคือ เรอเน เดส์การ์ตส์ (Rene Descartes) พยายามแบ่งอาณาจักรสองอาณาจักร คือ จิตใจ(ซึ่งเป็นตัวคิด) กับ วัตถุ (ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกคิด) เป็นสองสิ่งที่เป็นอิสระแยกขาดจากกัน
เดส์การ์ตส์ เป็นผู้ทำให้มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม จิตกับกาย ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ อารมณ์กับเหตุผล เป็นสองสิ่งที่แยกจากกันอย่างชัดเจนมากขึ้น
ขณะเดียวกัน นักปรัชญาชาวอังกฤษ คือ โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) เห็นว่าวัตถุเท่านั้นที่เป็นสิ่งจริงขั้นสุดท้าย ทุกสิ่งทุกอย่างคือวัตถุ ภาวะของจิตก็คือภาวะของสมอง (Mental states were brain states) ปรากฏการณ์ทางจิตวิญญาณเป็นเพียงการแสดงออกของวัตถุ

โลกคือเครื่องจักร
   เมื่อการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ รวมเข้ากับแนวคิดในสมัยภูมิธรรม ที่เชื่อในกระบวนการใช้เหตุผล ที่เมื่อผนวกกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม ได้นำโลกเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (paradigm = การเปลี่ยนแปลงอย่างถึงรากถึงแก่นในทางความคิดความเชื่อ ความรู้ การปฏิบัติ และการให้คุณค่าต่าง ๆ) ที่สามารถสรุปได้ดังนี้
1. เกิดความเชื่อว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเหตุผลเท่านั้นที่จะทำให้เรารู้ถึงความเป็นจริงหรือสิ่งที่มีอยู่จริงได้
2. มองจักรวาลว่าเป็นระบบกลไกที่แยกออกเป็นส่วนย่อย ๆ ได้ แต่ละส่วนเป็นวัตถุที่ไม่สามารถแยกย่อยได้อีก (ยอมรับแนวคิดแบบ ปรมาณูนิยม - atomism และจักรกลนิยม - mechanism)
3. มองชีวิตและสังคมว่า การต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ผู้แข็งแรงคือผู้ชนะ ผู้ชนะจะเป็นผู้ได้ครอบครอง (the winner takes all)
4. เกิดความเชื่อและความศรัทธาในความก้าวหน้าทางวัตถุอย่างไม่สิ้นสุด และเชื่อมั่นว่าความสุขเกิดขึ้นได้เมื่อมีวัตถุเพียบพร้อม เศรษฐกิจและเทคโนโลยีจึงเป็นทั้งเครื่องมือและเป้าหมายของชีวิตมนุษย์ในเวลาเดียวกัน
5. เกิดแนวคิดเอาชนะธรรมชาติ มนุษย์เป็นนายธรรมชาติ และเป็นศูนย์กลางจักรวาล ทุกสิ่งในจักรวาลมิได้มีค่าในตัวเอง แต่ต้องดำรงอยู่เพื่อการพัฒนาของมนุษย์

ด้วยเหตุนี้โลกจึงถูกมองว่าเป็นเครื่องจักร ที่เกิดขึ้นและทำงานไปอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย แต่เป็นไปตามระบบและกลไกของเครื่องจักรที่ต้องดำเนินไปอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ความเป็นไปของชิ้นส่วนแต่ละชิ้นเกิดจากแรงผลักภายนอก หรือสาเหตุภายนอก ไม่ใช่เกิดจากเจตนาของชิ้นส่วนแต่ละชิ้นที่ต้องการให้เกิดความเป็นไปต่าง ๆ   นักปรัชญาจักรกลนิยมเชื่อว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง “เป็น” อย่างที่มัน “ต้องเป็น” ตามจังหวะ ตามระบบจักรกล ไม่มีอะไรเกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะมีความจงใจหรือมีเจตนาไม่มีการตัดสินใจอย่างเสรี   แนวคิดจักรกลนิยมปฏิเสธเจตจำนงเสรี (free will) ซึ่งมีนัยสำคัญต่อเรื่องจริยธรรม เพราะความรับผิดชอบทางจริยธรรมจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อการกระทำนั้นเกิดจากการตัดสินใจเลือกอย่างเสรี หากเกิดข้อผิดพลาดเพราะมีเจตนาหรือไม่มีการเลือกด้วยตัวเองแล้ว ก็มักจะปฏิเสธความรับผิดชอบ แล้วโยนความรับผิดชอบนั้นไปให้ระบบหรือสาเหตุภายนอก เช่น สังคม เพื่อน พ่อแม่ ครูอาจารย์ รัฐบาล เศรษฐกิจ ดินฟ้าอากาศ ผีสางเทวดา หรือแม้แต่ IMF แต่สิ่งที่ไม่ต้องรับโทษและความผิดก็คือ ตัวเอง

ทัศนะแบบลัทธิองค์รวม (holism)
    ภาวะองค์รวม หรือโลกทัศน์แบบองค์รวม (Holistic View of Universe) เป็นวิธีการมองความเป็นจริงแบบบูรณาการ มองที่ทั้งหมด (the whole) แยกออกจากกันไม่ได้ ปรากฏการณ์ทุกอย่างทุกด้านล้วนมีความเชื่อมโยงกัน เป็นเหตุ-ปัจจัยแก่กัน


ลัทธิเต๋า (Taoism)
“เต๋าที่สามารถนำมาเล่าขานได้นั้นยังไม่ใช่เต๋าซึ่งเป็นอมตะ สิ่งที่ยังมีการเรียกขานนามได้ยังไม่ใช่นามอมตะ นิรนาม นั้นเป็นรากฐานแห่งสวรรค์และดิน การเกิดมีนามขึ้น จึงเป็นมารดาของสิ่งทั้งหลาย ดังนั้น ขอให้มีแต่สิ่งที่ไม่มี (non-being) เถิด เพื่อเราจะได้เห็นความละเอียดของมัน ขอให้มีสิ่งที่มี (being) เพื่อเราจะได้เห็นผลของมัน ทั้งสองอย่างนี้เป็นสิ่งเดียวกัน…”

แนวคิดในคัมภีร์เต๋า-เต๋อ-จิง (Tao Te Ching) บอกความสำคัญของ เต๋า ว่าเป็นสิ่งอมตะ ไม่มีนามเรียกขาน(นิรนาม) เต๋าคือความว่าง(ว่างจากความเป็น) นาม(สมมติบัญญัติ) เป็นสิ่งปรุงแต่ง หาความจริงไม่ได้ เราไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ไม่ควรแบ่งแยกความแตกต่าง เพราะเต๋าคือเอกภาวะ หรือเอกภาพระหว่างสิ่งที่มีอยู่กับสิ่งที่ไม่มีอยู่ รวมกันเป็นหนึ่งเดียวกับเต๋าจะปราศจากการแบ่งแยก ไม่เกิดสภาพที่เรียกว่า ทิวภาวะ (dualism)
เต๋าเชื่อในพลวัต (dynamic) ระหว่างภาวะสองอย่างที่ไม่เหมือนกัน คือ หยิน (Yin) กับ หยาง (Yang) ที่รวมตัวกันทำให้เกิดเอกภาพ แม้จะเป็นสิ่งที่ไม่เหมือนกันแต่รวมตัวอยู่ในสิ่งเดียวกัน เมื่อมีการแบ่งแยก เต๋าจึงไม่มีคำว่ากำไร-ขาดทุน ไม่มีเกียรติหรือความอับอาย ไม่มีความสมหวัง-ผิดหวัง ขณะเดียว กันเต๋ายินดีในความธรรมดา และยึดหลัก “อกรรม” หรือ หวู่เว่ย (Wu-Wei) คือปล่อยให้ธรรมเป็นผู้ทำเอง เต๋าจึงพอใจที่จะอยู่กลมกลืนกับวิถีธรรมชาติมากกว่า

พุทธปรัชญา
คำสอนในศาสนาพุทธมีอยู่ว่า สรรพสิ่งประกอบด้วย รูปกับนาม จิตกับกาย และหลักการของ “อิทัปปจัยตา” หรือหลักที่ว่าทุกสิ่งเป็นไปเช่นนั้นเอง เป็นธรรมดาของโลก ขณะที่โลกเคลื่อนที่ไปด้วยเหตุผลที่พอจะอธิบายได้ แต่ก็เกินกว่าความสามารถทางเหตุผลที่จะอธิบายได้ “ผู้รู้ย่อมเข้าใจและปล่อยวาง”


ควอนตัมฟิสิกส์ (quantum physics)
นักฟิสิกส์พบสัจธรรมว่า “ควาร์ก” (quark) ซึ่งเป็นสารก่อนอนุภาคนั้น มีภาวะสลับไปมาระหว่างมวลสารที่หาตัวตนได้ กับภาวะที่ไม่มีมวลจึงทำให้หาตัวตนไม่พบ เปลี่ยนแปลงระหว่างความมีกับความไม่มี จนทำให้เกิดเป็นทฤษฎีไร้ระบบ (Chaos) หรือความไม่แน่นอนของสรรพสิ่งในจักรวาล

ทฤษฎีไร้ระเบียบ ยอมรับปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Butterfly Effect คือ สิ่งเล็ก ๆ ที่ดูไร้ความหมาย สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ได้ หรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในจุดที่ห่างไกล ที่ดูเผิน ๆ แล้วเหมือนไม่เกี่ยวข้องกัน
แนวคิดแบบองค์รวมจะไม่สามารถมองและเข้าใจได้ว่า สิ่งแวดล้อมทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตแยกออกจากมนุษย์ และไม่คิดว่ามนุษย์แต่ละคน แต่ละครอบครัว แต่ละเผ่าพันธุ์ แต่ละภูมิภาค แต่ละประเทศ หรือแต่ละเชื้อชาติ แยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด
โลกในทัศนะแบบองค์รวมจึงเป็นความสัมพันธ์และการผสานเข้าด้วยกันของสรรพสิ่ง ระบบต่าง ๆ คือองค์รวมที่ผสานเป็นหนึ่งเดียว การมองโลกต้องมองทั้งหมด เพราะความเป็นจริงทั้งหมดของสิ่งใด ย่อมมีคุณสมบัติพิเศษสำคัญเฉพาะตน ซึ่งไม่อาจเข้าใจได้หากจะแยกออกเป็นหน่วยย่อยแล้วศึกษา กล่าวได้ว่ากระบวนทัศน์แบบนี้เป็นวัฒนธรรมอุดมคติ ก่อให้เกิดความสมดุล ความประสานสอดคล้องกันในทางศิลปะ ปรัชญา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กระบวนทัศน์แบบองค์รวม พบได้ในปรัชญามนุษยนิยมใหม่ (Neo-Humanism) นิเวศเชิงลึก (deep ecology) ที่มีลักษณะสอดคล้องกับปรัชญาพุทธศาสนา ปรัชญาฮินดู ปรัชญาเต๋า และที่รู้จักกันมากในปัจจุบันก็คือ วิถีชีวิตแบบธรรมชาติบำบัด แต่น้อยคนนักจะเข้าใจว่าเนื้อหาจริง ๆ ของแนวคิดและวิถีชีวิตดังกล่าวคืออะไร ส่วนมากมักจะติดอยู่ที่รูปแบบ (การดื่มน้ำ RC ปฏิเสธอาหารขยะ การออกกำลังกายด้วยวัสดุอุปกรณ์และท่าทางต่าง ๆ การดื่มน้ำผัก-ผลไม้ เท่านั้น)
ในแง่อภิปรัชญา “ชีวจิต” เชื่อว่ามนุษย์มีกาย-ใจ(จิตวิญญาณ) เป็นหนึ่งเดียวกัน การดำรงอยู่จึงต้องทำให้กาย-ใจพัฒนาไปพร้อมกัน ฝึกคิดในแง่บวก มองโลกในแง่ดี และการฝึกจิต เช่น การทำสมาธิ ฝึกโยคะ ซึ่งถือเป็นการให้อาหารใจ ซึ่งมีความสำคัญพอ ๆ กับการให้อาหารกาย

ทัศนะแบบปฏิบัตินิยม (pragmatism)
เป็นปรัชญาร่วมสมัยของอเมริกา ผู้นำคนสำคัญของทัศนะแบบนี้คือ วิลเลียม เจมส์ (William James) ซี.ดี. เพิร์ซ (C.D. Peirce) และ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) แนวคิดแบบนี้มักจะไม่ได้รับการกล่าวถึงบ่อยนัก แต่ก็เป็นการมองความจริงและสิ่งที่มีอยู่จริงในอีกแง่มุมหนึ่ง แนวคิดนี้เห็นว่าไม่มีสิ่งจริงแท้สูงสุดที่เป็นสากล หากแต่สิ่งจริงแท้มีอยู่มากมาย (Pluralistic) และเราสามารถยืนยันความจริงได้จากการปฏิบัติ ฉะนั้นความรู้ในสิ่งใดจึงต้องเป็นความรู้ที่ปฏิบัติได้และให้ผลดี ทัศนะแบบ “ความรู้เพื่อความรู้” อาจใช้ไม่ได้กับนักปรัชญาแนวปฏิบัตินิยม เพราะเขาไม่สนใจแสวงหาความจริง ทางอภิปรัชญาเพียงเพื่อให้รู้และเข้าใจเท่านั้น หากแต่จะสนใจในสิ่งที่เป็นจริงในปัจจุบันที่สามารถตรวจสอบได้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ และที่สำคัญ สิ่งนั้นต้องสามารถนำไปสู่ผลทางการปฏิบัติได้ นักคิดกลุ่มนี้ไม่สนใจที่จะถกเถียง โต้แย้งเพียงเพื่อให้รู้ว่าความจริงสูงสุดเป็นจิตหรือวัตถุ เพราะการรู้เหล่านั้นไม่มีอะไรใหม่และไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ

วิลเลียม เจมส์ ให้คำนิยามคำว่า ปฏิบัตินิยม ว่า “คือ ทัศนคติที่ไม่แยแสต่อสิ่งที่เป็นปฐม สิ่งที่เป็นหลักการ ประเภท หรือความจำเป็นที่คาดหมายกัน หากแต่ให้ความสนใจในสิ่งสุดท้าย ผล สิ่งที่เกิดขึ้นต่อเนื่องและข้อเท็จจริง” ลัทธินี้เป็นปฏิกริยา (reaction) ต่อระบบปรัชญาเก่า 2 ระบบ คือ วัตถุนิยม และ จิตนิยม ที่มัวแต่ถกเถียงเรื่องสิ่งสากล สิ่งสมบูรณ์ ที่ไร้ความหมาย เพราะเห็นว่าแม้ถกเถียงกันไปก็ได้เพียงข้อมูลที่ไม่มีความหมายอะไร หากไม่สามารถนำไปสู่ผลทางการปฏิบัติได้อย่างจริงจังและมีประสิทธิผล
กล่าวได้ว่า ปรัชญาปฏิบัตินิยม เป็นปรัชญาของคนเดินถนน เพราะเกิดขึ้นจากการตระหนักในปัญหาสังคมและปัญหาจริยธรรม เกี่ยวข้องกับความพยายามจะแก้ปัญหาของมนุษย์ในสังคม ไม่ใช่ปรัชญาแห่งท้องฟ้าและดวงดาว ไม่ใช่ปรัชญาที่จะตอบสนองความต้องการทางปัญญาอันบริสุทธิ์ ดังที่ จอห์น ดิวอี้ กล่าวว่า “ปรัชญาหรือแนวคิดใด ๆ จะมีค่าก็ต่อเมื่อสามารถช่วยผู้คนแก้ปัญหาสังคมและจริยธรรมของเขาได้”

               ปัญหาปรัชญาจึงมิได้อยู่ที่ว่า “ความจริงคืออะไร สิ่งใดคือสิ่งที่เป็นจริงสูงสุด เราจะรู้จักโลกที่เป็นจริงได้อย่างไร” แต่ปัญหาของนักปรัชญาปฏิบัตินิยมคือ “เราจะเรียนรู้วิธีที่จะควบคุมและสร้างสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาใหม่และใช้มันให้เกิดประโยชน์ได้อย่างไร?” มากกว่า

บทที่ 6 ขั้นประเมินกลยุทธ์

ขั้นประเมินกลยุทธ์


     ขั้นตอนสุดท้ายของการบริหารเชิงกลยุทธ์ได้แก่ การติดตามและประเมินผลกลยุทธ์  ซึ่งหมายถึงการคอยติดตามและตรวจสอบความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค ตลอดจนความสำเร็จและล้มเหลวของโครงการกิจกรรมต่างๆ ซึ่งประกอบขึ้นเป็นกลยุทธ์ของหน่วยงาน ซึ่งวิธีการในการติดตามประเมินผลนั้นก็คือ การคอยติดตามข้อมูลข่าวสารโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวชี้วัดความสำเร็จต่างๆ ที่กำหนดไว้ และคอยแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนถึงการคอยติดตามให้การสนับสนุนแก่ผู้ปฏิบัติงานในส่วนงานต่างๆ ในทุกๆ ด้าน ให้สามารถปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  การติดตามประเมินผลนอกจากจะช่วยให้ทราบถึงความสำเร็จก้าวหน้าของงานแล้วยังเป็นการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับเอากลยุทธ์ไปปฏิบัติด้วย นอกจากนี้ การได้เรียนรู้ถึงผลสำเร็จหรือล้มเหลวตลอดจนข้อผิดพลาดต่างๆ ก็ยังเป็นส่วนกระบวนการเรียนรู้ของหน่วยงาน ซึ่งหน่วยงานที่มีขีดความสามารถในการเรียนรู้สูง ย่อมได้เปรียบในยามที่สถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป เพราะจะสามารถปรับตัวเองได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
       ระบบติดตามและประเมินผล เป็นองค์ประกอบของความสำเร็จที่สำคัญของการควบคุมกลยุทธ์ (Strategy Control) ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.. 2546 ที่หน่วยงานต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าจะวัดผลในแต่ละตัวชี้วัดว่าใครเป็นผู้ที่รับผิดชอบและรายงานผล แม้จะเป็นระดับฝ่าย กลุ่มงานหรือหน่วยงานเองก็ตาม จะต้องแบ่งความรับผิดชอบให้ชัดเจนว่าตัวชี้วัดใดใครรับผิดชอบ พร้อมกำหนดความถี่ในการรายงานผลที่ชัดเจน ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการตรวจสอบและประเมินผลของยุทธศาสตร์ให้มีกระบวนการทั้งหมดในการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม แนวทางของการจัดทำระบบติดตามให้ความสำคัญในการบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายการให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดตัวชี้วัดในแต่ละระดับ ทั้งในเชิงปริมาณ คุณภาพ เวลา และค่าใช้จ่าย ให้มีมาตรฐานการวัดที่เหมาะสมชัดเจน เชื่อถือได้ รวมทั้งมีความเชื่อมโยงในการวางแผนดำเนินงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้มีการบูรณาการ ตั้งแต่                ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ เพื่อให้สามารถตรวจสอบว่าอะไรคือเป้าประสงค์ของหน่วยงาน ที่เชื่อมโยงกับเป้าประสงค์ของกระทรวง แผนบริหารราชการแผ่นดิน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                   การบริหารงานที่ประสบความสำเร็จนั้น ส่วนหนึ่งมาจากความสามารถของผู้บริหาร ในการนำเทคนิคและกระบวนการบริหารมาใช้ บริหารงานให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์และ บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ การติดตามและ ประเมินผลก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร ซึ่งมีหลักการสำคัญ คือ การติดตาม ความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานและประเมินผล ความสำเร็จของงาน อันจะนำไปสู่การดำเนินการ แก้ไขปรับปรุงร่วมกันให้บรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารจึงจำ เป็นต้องมีการติดตามและ ประเมินผล เพื่อให้ทราบประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลของระบบงานต่าง ๆ ของหน่วยงาน ว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมสอดคล้องกับ สถานการณ์ปัจจุบันเพียงใด การติดตามและ ประเมินผลมักใช้ควบคู่กัน แต่ความหมายของการติดตามและการประเมินผลนั้น มีทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่างกัน ดังนี้
                   การติดตาม (Monitoring) หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงานตาม แผนงานที่กำหนดไว้ เพื่อตัดสินใจแก้ไขว่าได้ผลตามวัตถุประสงค์ของแผนงาน/โครงการ นั้นหรือไม่เพียงใด
                   การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การตรวจสอบความก้าวหน้าของแผนงาน/ โครงการ ตลอดจนการพิจารณาผลสัมฤทธิ์ของ แผนงาน/โครงการนั้น ๆ ว่ามีมากน้อยเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดขึ้น จึงเป็น กระบวนการบ่งชี้ถึงคุณค่าของแผนงาน/โครงการ
                   จากคำนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การติดตามเป็นกระบวนการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามแผนงาน/ โครงการ ส่วนการประเมินผลอาจจะประเมินได้ ในทุกช่วงของแผนงาน/โครงการ นับตั้งแต่ก่อน ตัดสินใจจัดทำ แผนงาน/โครงการ ขณะ ดำเนินงานในจุดต่างๆ และเมื่อสิ้นสุดแผน สิ้น ปี งบประมาณ หรือแผนงาน/โครงการดำเนินการ แล้วเสร็จ
                   ประโยชน์ของการติดตามและประเมินผล
                   1. ทำให้ทราบปัญหาและความต้องการที่ แท้จริง สามารถจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และแก้ไขปัญหาทันที เพื่อนำไปสู่การพัฒนาของหน่วยงาน
                   2. ทำให้วางแผนงาน/โครงการได้ตรง เป้าหมาย แก้ปัญหาได้ถูกจุด และพัฒนาได้ตรง ตามนโยบาย
                   3. ช่วยให้ดำเนินการตามแผนได้ราบรื่น สามารถปรับปรุงแก้ไขปัญหาอุปสรรคอย่างได้ผล หรือปรับแผนให้เหมาะสมมากขึ้น
                   4. ทำให้ทราบผลการดำเนินงานตาม แผนงานและโครงการอย่างชัดเจน อะไรประสบ ผลสำเร็จแล้วสิ่งใดยังต้องทำต่อไป จำนวนเท่าไร อันจะเป็นข้อมูลไปสู่การตัดสินใจไปสู่สภาพ ปัจจุบันปัญหาความต้องการ ซึ่งเป็นการวนครบ วงจร ถ้ามีการติดตามและประเมินผลอย่าง ต่อเนื่องและเป็นประจำย่อมทำให้ทราบปัญหา และความต้องการที่แท้จริง การวางแผนงาน/โครงการสามารถทำได้ตรงตามเป้าหมาย หรือ สามารถปรับปรุงแก้ไขแผนงาน/โครงการให้ เหมาะสมมากขึ้น สามารถทราบผลการ ดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ เมื่อเริ่ม วางแผนใหม่อีกครั้งก็จะมีข้อมูลสารสนเทศที่ ชัดเจน เที่ยงตรง และเป็นปัจจุบัน สามารถเป็น เครื่องมือในการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลปรับปรุงวิธีการปฏิบัติให้ผลงานเป็นไปตาม แผนงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมุ่งที่ จะตอบคำถามหลักว่า ในการดำเนินงานนั้นได้รับทรัพยากรครบถ้วนหรือไม่ ได้ปฏิบัติงาน ตามแผนงานที่กำหนดหรือไม่ ได้ผลตรงตามที่ กำหนดหรือไม่ ข้อมูลจากการติดตามจะเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเร่งรัดให้งาน/โครงการ ดำเนินไปตรงตามเป้าหมายของแผนงานและแล้ว เสร็จภายในกำหนดเวลา การติดตามผลจึงต้อง ดำเนินการอย่างสม่ำเสมอในหน่วยงาน เพื่อเป็น ข้อมูลย้อนกลับให้ตนเอง ผู้บังคับบัญชาขั้นต้น ผู้บังคับบัญชาระดับสูง ตลอดจนผู้รับผิดชอบ แผนงาน/โครงการทุกระดับ เพื่อให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แก้ไข อำนวยความสะดวก ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
                   การติดตามผลการดำเนินงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลมาจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ลักษณะของการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนมี ดังนี้
                   1) การติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นแผนระยะปานกลาง (3-5 ปี) เป็นการติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดผลสำเร็จของแผนในระยะครึ่งแผนและ  ระยะสิ้นสุดแผน และติดตามความก้าวหน้าของงานโครงการสำคัญที่กำหนดไว้ในกรอบแผนงานโครงการริเริ่มสร้างสรรค์ที่ได้กำหนดไว้ในแผน (Initiative) เพื่อให้สามารถปรับกลยุทธ์ได้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป เช่น นโยบายรัฐบาล กระทรวง กรม และความต้องการจำเป็นของหน่วยงานและสถานศึกษา
                   2) การติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี (Action Plan) ซึ่งเป็นแผนใช้เงิน เป็นการติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนซึ่งอาจกำหนดเป็นจุดเน้นการดำเนินงานประจำปี โดยติดตามความสำเร็จของงาน/โครงการ/กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนรวมทั้งผลการเบิกจ่ายงบประมาณเป็นรายไตรมาสเพื่อให้สามารถปรับแผนได้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของหน่วยงานและโรงเรียน ทั้งนี้ เครื่องมือการติดตามผลการดำเนินงาน อาจใช้แบบสำรวจสัมภาษณ์ โปรแกรม On Web และการศึกษาวิจัย รวมทั้งให้ผู้รับผิดชอบแผนงานโครงการหรือผู้รับผิดชอบหลักการบริหารแผนสู่การปฏิบัติได้รายงานความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคและจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบกลั่นกรองข้อมูล เนื่องจากข้อมูลจาการรายงานรายบุคคลอาจไม่ครบถ้วน เมื่อนำเสนอคณะกรรมการฯของหน่วยงานและสถานศึกษาได้พิจารณาร่วมกันจะได้เพิ่มเติมข้อมูลให้สมบูรณ์และมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกันมากขึ้น

บทที่ 7 คำศัพท์

คำศัพท์

1.Ethics    =    จริยธรรม

2.Privacy    =    หลักส่วนบุคคล

3.Junk mail    =    อีเมล์ขยะ

4.Data Accuracy    =    หลักความจริงของข้อมูล

5.Intellectual Property    =    หลักสิทธิส่วนตัว

6.Privilege Card    =    สิทธิบัตร

7.Trade Secrets    =    ความลับทางการค้า

8.Hacking    =    การเจาะระบบ

9.Novices    =    กลุ่มมือใหม่

10.Hacker    =    นักเจาะข้อมูล

บทที่ 6 คำศัพท์

คำศัพท์

1.Corporate Strategy    =    กลยุทธ์ระดับองค์กร

2.Business Strategy    =    กลยุทธ์ระดับหน่วยธุรกิจ

3.Operational Strategy    =    กลยุทธ์ระดับปฎิบัติการ

4.Strategic Planning    =    การวางแผนกลยุทธ์

5.Mission    =    พันธกิจ

6.Low Cost    =    การแข่งขันด้านต้นทุน

7.Customer Values    =    ค่านิยมต่อลูกค้า

8.Goal    =    เป้าหมาย

9.Focus Marketing    =    เน้นตลาดกลุ่มเฉพาะ

10.Face Strategy    =    การโจมตีแบบซึ่งหน้า

บทที่ 5 คำศัพท์

คำศัพท์

1.consumer behaviour      =      พฤติกรรมผู้บริโภค

2.Customer and Electronic Commerce  =  ผู้บริโภคกับพาณิชย์

อิเล็กทรอนิกส์

3.shop ping and service    =    การเลือกค้นหาสินค้าและบริการ

4.Internet to Customer    =    พฤติกรรมผู้บริโภคบนอินเทอร์เน็ต

5.Information Search    =    การแสวงหาข้อมูล

6.Purchase Decision    =    การตัดสินใจซื้อ

7.Behavioral Attitudes    =    ทัศนคติต่อพฤติกรรม

8.Subjective Norm    =    พฤติกรรมคล้อยตามสิ่งอ้างอิง

9.Indirectly group    =    กลุ่มอ้างอิงทางอ้อม

10.Direct group    =    กลุ่มอ้างอิงทางตรง

บทที่ 4 คำศัพท์

คำศัพท์


1.Competitor      =      คู่แข่งขัน


2.Market size      =      ขนาดของตลาด


3.Strategy      =      กลยุทธ์


4.Knowledge      =      ความรู้



5.Printed      =      สื่อสิ่งพิมพ์


6.Electronic Mail      =      จดหมายอิเล็กทรอนิกส์

7.Instant Message     =      บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต

8.Chat Room      =      ห้องสนทนา

9.Online media      =       สื่อออนไลน์ 

10.Public Strategy      =      กลยุทธ์ด้านการให้ข่าวสาร 

บทที่ 3 คำศัพท์

คำศัพท์

1.Need      =      ความจำเป็น
2.Want      =      ความต้องการ
3.Supplier      =      ผู้จัดส่งวัตถุดิบ
4.Motivation      =      แรงจูงใจ
5.Brand      =      ตรายี่ห้อ
6.Label     =      ฉลาก
7.Packege      =      บรรจุภัณฑ์
8.Value      =      มูลค่า
9.Media      =      สื่อโฆษณา
10.Advertising      =      การโฆษณา

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 7 จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์

จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์


ความหมายจริยธรรมคอมพิวเตอร์

                เป็นหลักเกณฑ์ที่ประชาชนตกลงร่วมกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน  สำหรับตัวอย่างของการกระทำที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เช่น
1.  การใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรำคาญ
2.  การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูล
3.  การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
4.  การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ
สารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA  ประกอบด้วย
1.  ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)
2.  ความถูกต้อง (Information Accuracy)       
3.  ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property)                 
4.  การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility)
                        ในประเทศไทยได้มีการร่างกฎหมายทั้งสิ้น ฉบับ คือ
1.  กฏหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
2.  กฏหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3.  กฏหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
4.  กฏหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5.  กฏหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
6.  กฎหมายลำดับรอง รัฐธรรมนูญ มาตรา 78 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
            ต่อมาได้มีการรวมเอากฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่อ-อิเล็กทรอนิกส์เป็นฉบับเดียวกันเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ เมษายน 2545 แต่ในปัจจุบันยังไม่ได้นำมาใช้สมบูรณ์แบบ เนื่องจากยังไม่มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  ส่วนกฏหมายอีก ฉบับที่เหลือ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ (ข้อมูล ณ ตุลาคม 2546)

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (computer crime or  cyber crime)

            อาชญากรคอมพิวเตอร์จะก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกจัดออกเป็น 9 ประเภท (ตามข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์)
                1.การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
                2.อาชญากรนำเอาระบบการสื่อสารมาปกปิดความผิดของตนเอง
                3.การละเมิดสิทธิ์ปลอมแปรงรูปแบบ เลียนแบบระบบซอพต์แวร์โดยมิชอบ
                4.ใช้คอมพิวเตอร์แพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
                5.ใช้คอมพิวเตอร์ฟอกเงิน
                6.อันธพาลทางคอมพิวเตอร์ที่เช้าไปก่อกวน ทำลายระบบสาราณูปโภค เช่น ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไป ระบบการจราจร
                7.หลอกลวงให้ร่วมค้าขายหรือลงทุนปลอม
                8.แทรกแซงข้อมูลแล้วนำข้อมูลนั้นมาเป็น)ระโยชน์ต่อตนโดยมิชอบ เช่น ลักรอบค้นหารหัสบัตรเครดิตคนอื่นมาใช้ ดักข้อมูลทางการค้าเพื่อเอาผลประโยชน์นั้นเป็นของตน
                9.ใช้คอมพิวเตอร์แอบโอนเงินบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีตัวเอง

แหล่งที่มา : http://se-ed.net/hacking/t1.htm

การใช้คอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรม
-  การขโมยหมายเลขบัตรเครดิต
                                    เมื่อจะซื้อสินค้าและชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านทางอินเทอร์เน็ต จะต้องแน่ใจว่าระบบมีการรักษาความปลอดภัย ซึ่งสังเกตง่าย ๆ จากมุมขวาล่างของเว็บไซต์จะมีรูปกุญแจล็อกอยู่ หรือที่อยู่เว็บไซต์หรือ URL จะระบุ https://        
-  การแอบอ้างตัว
                                เป็นการแอบอ้างตัวของผู้กระทำต่อบุคคลที่สามว่าตนเป็นอีกคนหนึ่ง เช่นนำ หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขบัตรเครดิต หนังสือเดินทาง และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ของผู้ถูกกระทำไปใช้แอบอ้างเพื่อหาผลประโยชน์
-  การสแกมทางคอมพิวเตอร์
เป็นการกระทำโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงผู้อื่น ปัจจุบันมีรูปแบบที่แตกต่างกันมากมาย 

ตัวอย่างลักษณะการกระทำที่เป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ใน ประเด็นคือ
1.  การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต
2.  การก่อกวนหรือทำลายข้อมูล
3.  การขโมยข้อมูลและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

อาชญากรคอมพิวเตอร์
                อาชญากรคอมพิวเตอร์ คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญ มีการจำแนกไว้ดังนี้

                1. พวกมือใหม่ (Novices) หรือมือสมัครเล่น อยากทดลองความรู้และส่วนใหญ่จะมิใช่ผู้ ที่เป็นอาชญากรโดยนิสัย มิได้ดำรงชีพโดยการกระทำผิด  อาจหมายถึงพวกที่เพิ่งได้รับความไว้วางใจให้เข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                2.  Darnged person คือ พวกจิตวิปริต ผิดปกติ มีลักษณะเป็นพวกชอบความรุนแรง และอันตราย มักเป็นพวกที่ชอบทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้าไม่ว่าจะเป็นบุคคล สิ่งของ หรือสภาพแวดล้อม
                3.  Organized Crime พวกนี้เป็นกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกันทำผิดในลักษณะขององค์กรใหญ่ๆ ที่มีระบบ พวกเขาจะใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน โดยส่วนหนึ่งอาจใช้เป็นเครื่องหาข่าวสาร เหมือนองค์กรธุรกิจทั่วไป อีกส่วนหนึ่งก็จะใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นตัวประกอบสำคัญในการก่ออาชญากรรม หรือใช้เทคโนโลยีกลบเกลื่อนร่องร่อย ให้รอดพ้นจากเจ้าหน้าที่
                4.  Career Criminal พวกอาชญากรมืออาชีพ เป็นกลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มาก กลุ่มนี้น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากนับวันจะทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจับผิดแล้วจับผิดเล่า บ่อยครั้ง

                5. Com Artist คือพวกหัวพัฒนา เป็นพวกที่ชอบความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตน อาชญากรประเภทนี้จะใช้ความก้าวหน้า เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และความรู้ของตนเพื่อหาเงินมิชอบทางกฎหมาย
                6.  Dreamer พวกบ้าลัทธิ เป็นพวกที่คอยทำผิดเนื่องจากมีความเชื่อถือสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุ่นแรง
                7. Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จนสามารถลักลอบเข้าสู่ระบบได้ โดยมีวัตถุประสงค์เข้าไปหาผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง มักเข้าไปทำลายหรือลบไฟล์ หรือทำให้คอมพิวเตอร์ใช้การไม่ได้ รวมถึงทำลายระบบปฏิบัติการ
                8. นักเจาะข้อมูล (Hacker) ผู้ที่ชอบเจาะเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น พยายามหาความท้าทายทางเทคโนโลยีเข้าไปในเครือข่ายของผู้อื่นโดยที่ตนเองไม่มีอำนาจ 
                9. อาชญากรในรูปแบบเดิมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ เช่นพวกลักเล็กขโมยน้อยที่ พยายามขโมยบัตร ATM ของผู้อื่น
                10. อาชญากรมืออาชีพ คนพวกนี้จะดำรงชีพจากการกระทำความผิด เช่นพวกที่มักจะใช้ ความรู้ทางเทคโนโลยีฉ้อโกงสถาบันการเงิน หรือการจารกรรมข้อมูลไปขาย เป็นต้น 
                11. พวกหัวรุนแรงคลั่งอุดมการณ์หรือลัทธิ มักก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เพื่อ อุดมการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา หรือสิทธิมนุษย์ชน เป็นต้น 

และนอกจากนั้นยังพบว่า ผู้กระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์มีลักษณะพิเศษดังต่อไปนี้
                1. ส่วนใหญ่มักมีอายุน้อย
                2. ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีวิชาชีพ 
                3. ลักษณะส่วนตัวเช่น 
                                - มีแรงจูงใจและความทะยานอยากสูงในการที่จะเอาชนะและฉลาด
                                - ไม่ใช่อาชญากรโดยอาชีพ 
                                - กลัวที่จะถูกจับได้ กลัวครอบครัว เพื่อนและเพื่อนร่วมงานจะรู้ถึงการกระทำความผิดของตน

7.4  วิธีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลและคอมพิวเตอร์

            1)  การใช้ username หรือ user ID และ รหัสผ่าน (password)  ผู้ใช้ควรเปลี่ยนแปลงด้วยตนเองในภายหลัง และควรหลีกเลี่ยงการกำหนดรหัสที่เป็นวันเกิด หรือรหัสอื่นๆ ที่   แฮกเกอร์สามารถเดาได้
             2)  การใช้วัตถุใด ๆ เพื่อการเข้าสู่ระบบ ได้แก่ บัตร หรือกุญแจ ซึ่งรหัสผ่านไม่ควรใช้ปีเกิด หรือจดลงในบัตร
            3)  การใช้อุปกรณ์ทางชีวภาพ (biometric device) เป็นการใช้อุปกรณ์ที่ตรวจสอบลักษณะส่วนบุคคลเพื่อการอนุญาตใช้โปรแกรม ระบบ หรือการเข้าใช้ห้องคอมพิวเตอร์
            4)  ระบบเรียกกลับ (callback system) เป็นระบบที่ผู้ใช้ระบุชื่อและรหัสผ่านเพื่อขอเข้าใช้ระบบปลายทาง หากข้อมูลถูกต้อง คอมพิวเตอร์ก็จะเรียกกลับให้เข้าใช้งานเอง อย่างไรก็ตามการใช้งานลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าผู้ขอใช้ระบบใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากตำแหน่งเดิม คือ จากบ้าน หรือที่ทำงาน (หมายเลขโทรศัพท์เดิม)ในขณะที่การใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาอาจต้องเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์ ทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า

ข้อควรระวังและแนวทางการป้องกันการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์

              1.  ข้อควรระวังก่อนเข้าไปในโลกไซเบอร์
        Haag ได้เสนอกฎไว้ ข้อคือ ถ้าคอมพิวเตอร์มีโอกาสถูกขโมย ให้ป้องกันโดยการล็อกมัน และถ้าไฟล์มีโอกาสที่จะถูกทำลาย ให้ป้องกันด้วยการสำรอง (backup)
2.  ข้อควรระวังในการเข้าไปยังโลกไซเบอร์
        ถ้าท่านซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต ให้พิจารณาข้อพึงระวังต่อไปนี้
1)  บัตรเครดิตและการแอบอ้าง
2)  การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล
3)  การป้องกันการติดตามการท่องเว็บไซต์
4)  การหลีกเลี่ยงสแปมเมล์
5)  การป้องกันระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
6)   การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
                    ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันการก่อกวนและทำลายข้อมูลได้ที่  ศูนย์ประสานงานการรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ประเทศไทย(http://thaicert.nectec.or.th/)

                นอกจากข้อควรระวังข้างต้นแล้ว ยังมีข้อแนะนำบางประการเพื่อการสร้างสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนี้
                        1)  การป้องกันเด็กเข้าไปดูเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
                        2)  การวางแผนเพื่อจัดการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว
                         3)  การใช้พลังงาน

วิธีการที่ใช้ในการกระทำความผิดทางอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

โดยทั่วไปแล้ว วิธีการที่ใช้ในการประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จะมีดังต่อไปนี้

                                1. Data Diddling คือ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อนหรือระหว่างที่กำลังบันทึกข้อมูลลงไปในระบบคอมพิวเตอร์ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวนี้สามารถกระทำโดยบุคคลใดก็ได้ที่สามารถเข้าไปถึงตัวข้อมูล ตัวอย่างเช่น พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่บันทึกเวลาการทำงานของพนักงานทั้งหมด ทำการแก้ไขตัวเลขชั่วโมงการทำงานของคนอื่นมาลงเป็นชั่วโมงการทำงานของตนเอง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวหากถูกแก้ไขเพียงเล็กน้อย พนักงานแต่ละคนแทบจะไม่สงสัยเลย
                                2. Trojan Horse การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่แฝงไว้ในโปรแกรมที่มีประโยชน์ เมื่อถึงเวลาโปรแกรมที่ไม่ดีจะปรากฎตัวขึ้นเพื่อปฏิบัติการทำลายข้อมูล วิธีนี้มักจะใช้กับการฉ้อโกงทางคอมพิวเตอร์หรือการทำลายข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์
                                3. Salami Techniques วิธีการปัดเศษจำนวนเงิน เช่น ทศนิยมตัวที่ 3 หรือปัดเศษทิ้งให้เหลือแต่จำนวนเงินที่สามารถจ่ายได้ แล้วนำเศษทศนิยมหรือเศษที่ปัดทิ้งมาใส่ในบัญชีของตนเองหรือของผู้อื่นซึ่งจะทำให้ผลรวมของบัญชียังคงสมดุลย์ (Balance) และจะไม่มีปัญหากับระบบควบคุมเนื่องจากไม่มีการนำเงินออกจากระบบบัญชี นอกจากใช้กับการปัดเศษเงินแล้ววิธีนี้อาจใช้กับระบบการตรวจนับของในคลังสินค้า
                                4. Superzapping มาจากคำว่า "Superzap" เป็นโปรแกรม "Marcro utility" ที่ใช้ในศูนย์คอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM เพื่อใช้เป็นเครื่องมือของระบบ (System Tool) ทำให้สามารถเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ได้ในกรณีฉุกเฉิน เสมือนกุญแจผี (Master Key) ที่จะนำมาใช้เมื่อกุญแจดอกอื่นหายมีปัญหา โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utlity Program) อย่างเช่นโปรแกรมSuperzap จะมีความเสี่ยงมากหากตกไปอยู่ในมือของผู้ที่ไม่หวังดี

                                5. Trap Doors เป็นการเขียนโปรแกรมที่เลียนแบบคล้ายหน้าจอปกติของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อลวงผู้ที่มาใช้คอมพิวเตอร์ ทำให้ทราบถึงรหัสประจำตัว (ID Number) หรือรหัสผ่าน (Password) โดยโปรแกรมนี้จะเก็บข้อมูลที่ต้องการไว้ในไฟล์ลับ
                                6. Logic Bombs เป็นการเขียนโปรแกรมคำสั่งอย่างมีเงื่อนไขไว้ โดยโปรแกรมจะเริ่มทำงานต่อเมื่อมีสภาวะหรือสภาพการณ์ตามที่ผู้สร้างโปรแกรมกำหนด สามารถใช้ติดตามดูความเคลื่อนไหวของระบบบัญชี ระบบเงินเดือนแล้วทำการเปลี่ยนแปลงตัวเลขดังกล่าว
                                7. Asynchronous Attack เนื่องจากการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์เป็นการทำงานแบบ Asynchronous คือสามารถทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกัน โดยการประมวลผลข้อมูลเหล่านั้นจะเสร็จไม่พร้อมกัน ผู้ใช้งานจะทราบว่างานที่ประมวลผลเสร็จหรือไม่ก็ต่อเมื่อเรียกงานนั้นมาดู ระบบดังกล่าวก่อให้เกิดจุดอ่อน ผู้กระทำความผิดจะฉวยโอกาสในระหว่างที่เครื่องกำลังทำงานเข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือกระทำการอื่นใดโดยที่ผู้ใช้ไม่ทราบว่ามีการกระทำผิดเกิดขึ้น
                                8. Scavenging คือ วิธีการที่จะได้ข้อมูลที่ทิ้งไว้ในระบบคอมพิวเตอร์หรือบริเวณใกล้เคียง หลังจากเสร็จการใช้งานแล้ว วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ค้นหาตามถังขยะที่อาจมีข้อมูลสำคัญไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์หรือรหัสผ่านหลงเหลืออยู่ หรืออาจใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนทำการหาข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อผู้ใช้เลิกใช้งานแล้ว
                                9. Data Leakage หมายถึงการทำให้ข้อมูลรั่วไหลออกไป อาจโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เช่นการแผ่รังสีของคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าในขณะที่กำลังทำงาน คนร้ายอาจตั้งเครื่องดักสัญญาณไว้ใกล้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อรับข้อมูลตามที่ตนเองต้องการ
                                10. Piggybacking วิธีการดังกล่าวสามารถทำได้ทั้งทางกายภาพ (physical) การที่คนร้ายจะลักลอบเข้าไปในประตูที่มีระบบรักษาความปลอดภัย คนร้ายจะรอให้บุคคลที่มีอำนาจหรือได้รับอนุญาตมาใช้ประตูดังกล่าว เมื่อประตูเปิดและบุคคลคนนั้นได้เข้าไปแล้ว คนร้ายก็ฉวยโอกาสตอนที่ประตูยังไม่ปิดสนิทแอบเข้าไปได้ ในทางอิเล็กทรอนิกส์ก็เช่นกัน อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ใช้สายสื่อสารเดียวกันกับผู้ที่มีอำนาจใช้หรือได้รับอนุญาต เช่นใช้สายเคเบิลหรือโมเด็มเดียวกัน
                                11. Impersonation คือ การที่คนร้ายแกล้งปลอมเป็นบุคคลอื่นที่มีอำนาจหรือได้รับอนุญาต เช่น เมื่อคนร้ายขโมยบัตรเอทีเอ็มของเหยื่อได้ ก็จะโทรศัพท์และแกล้งทำเป็นเจ้าพนักงานของธนาคารและแจ้งให้เหยื่อทราบว่ากำลังหาวิธีป้องกันมิให้เงินในบัญชีของเหยื่อ    จึงบอกให้เหยื่อเปลี่ยนรหัสประจำตัว (Personal Identification Number: PIN) โดยให้เหยื่อบอกรหัสเดิมก่อน คนร้ายจึงทราบหมายเลขรหัส และได้เงินของเหยื่อไป
                                12. Wiretapping เป็นการลักลอบดักฟังสัญญาณการสื่อสารโดยเจตนาที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสาร หรือที่เรียกว่าโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ โดยการกระทำความผิดดังกล่าวกำลังเป็นที่หวาดวิตกกับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมาก

                                13. Simulation and Modeling ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผน การควบคุมและติดตามความเคลื่อนไหวในการประกอบอาชญากรรม และกระบวนการดังกล่าวก็สามารถใช้โดยอาชญากรในการสร้างแบบจำลองในการวางแผนเพื่อประกอบอาชญากรรมได้เช่นกัน เช่นในกิจการประกันภัย มีการสร้างแบบจำลองในการปฏิบัติการหรือช่วยในการตัดสินใจในการทำกรมธรรม์ประกัน ภัย โปรแกรมสามารถทำกรมธรรม์ประกันภัยปลอมขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้บริษัทประกันภัยล้มละลายเมื่อถูกเรียกร้องให้ต้องจ่ายเงินให้กับกรมธรรม์ที่ขาดต่ออายุ หรือกรมธรรม์ที่มีการจ่ายเงินเพียงการบันทึก(จำลอง)แต่ไม่ได้รับเบี้ยประกันจริง หรือต้องจ่ายเงินให้กับกรมธรรม์ที่เชื่อว่ายังไม่ขาดอายุความ

การเจาะระบบ (Hacking)
การเจาะระบบ (Hacking) หมายถึงการเข้าไปในเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต (Unauthorized Access) และเมื่อเข้าไปแล้วก็ทำการสำรวจ ทิ้งข้อความ เปิดโปรแกรม ลบ แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือขโมยข้อมูล

การถูกลักลอบเจาะระบบอาจส่งผลให้ความลับทางการค้า ข้อมูลที่สำคัญหรือแม้แต่เงินของหน่วยงานต้องถูกขโมยไป การกระทำดังกล่าวอาจทำจากคู่แข่งทางการค้า อาชญากรหรือผู้ที่ไม่หวังดี และอาจจะทำจากในหน่วยงานเองหรือจากส่วนอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลออกไป หรือจากนอกประเทศโดยใช้เครือข่ายการสื่อสารสาธารณะหรือโทรศัพท์

นักเจาะระบบอาจได้รหัสการเข้าสู่เครือข่ายโดยการดักข้อมูลทางสายโทรศัพท์ หรือใช้เครื่องมือสื่อสารนำไปติดกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือใช้เครื่องจับการแผ่รังสีจากการส่งผ่านข้อมูลที่ไม่มีการป้องกันการส่งข้อมูล (Unshielded Data Transmission) เพื่อจะได้มาซึ่งรหัสผ่าน (Password)

ไวรัสคอมพิวเตอร์
ความหมาย ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมที่มีความสามารถในการแก้ไขดัดแปลงโปรแกรมอื่น เพื่อที่จะทำให้โปรแกรมนั้นๆ สามารถเป็นที่อยู่ของมันได้และสามารถทำให้มันทำงานได้ต่อไปเรื่อยๆ เมื่อมีการเรียกใช้โปรแกรมที่ติดเชื้อไวรัสนั้น

ประวัติไวรัสคอมพิวเตอร์ เดิมความคิดในเรื่องของไวรัสคอมพิวเตอร์นั้นเป็นเพียงเรื่องในนวนิยาย และต่อมาในปี ค.ศ.1983 เมื่อนาย Fred Cohen นักศึกษาปริญญาเอกด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ที่มหาวิทยาลัยเซาท์เทอร์นแคลิฟอร์เนีย ได้คิดค้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถทำลายล้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยกัน เปรียบเสมือนเชื้อไวรัสที่แพร่กระจายเข้าสู่ตัวคน และเรียกโปรแกรมดังกล่าวว่า Computer Virus และชื่อนี้ก็ได้ใช้เรียกโปรแกรมชนิดนี้นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ตัวอย่างไวรัสคอมพิวเตอร์ มีไวรัสคอมพิวเตอร์หลายชนิดที่มนุษย์สามารถคิดค้นได้ อาทิเช่น Worm, Trojan Horse, Logic Bomb, Chameleons, Pakistani, Macintosh, Scores, Peace, Lehigh, Keypress, Dark Avenger, Stoned, Michealangello หรือแม้แต่ไวรัสที่ใช้ชื่อไทยเช่น ลาวดวงเดือน เป็นต้น

แหล่งข้อมูลจาก :
โครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
ผู้อำนวนการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

หลักจริยธรรมและโปรแกรม Software

                การละเมิดสิทธิ์  หมายถึง  การได้มาซึ่งการถือสิทธิ์และใช้คัดลอก ทำซ้ำ เป็นการผิดกฎหมาย software

                ตัวอย่างของการละเมิดสิทธ์
1.  การ Copying software จากห้องทดลองหรือจากเพื่อน
2.  การซื้อ software  ที่ copies มาจากตัวแทนจำหน่ายหรือจากผู้อื่น
3.  ซื้อ software  ชุดและติดตั้งกับคอมพิวเตอร์หลายเครื่องที่บ้าน

                การปลอมแปลง  หมายถึง   การ copying  CD-ROMs or DVD-ROMs จำนวนมากเป็นสิ่งที่ผิด  การไม่ได้รับอนุญาตให้  copying  software ถือเป็นโจร

หลักจริยธรรมและข้อมูล

                ข้อมูลหนึ่งใน  computer   อาจจะมีหลายทางที่เราจะใช้มัน  ซึ่งในการใช้ข้อมูลนั้นทางหลักจริยธรรม  ควรไตร่ตรองในเรื่องดังต่อไปนี้

        1.  “จริยธรรม” การใช้ computer ในการเปลี่ยนแปลง  แก้ไขรูปถ่าย?

        2.  “จริยธรรม”  ในการลบ e-mail messages  อาจจะถูกฟ้องร้องคดี?

        3.  “จริยธรรม” ที่ใช้ข้อมูลบางอย่างสำหรับจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งของคุณ?


การคัดลอก Software
                                การซื้อ  Software การค้าจะมีสิทธิ์ใช้ได้แค่คนเดียวสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่อง  เนื่องจาก Software  จะมี license  ห้ามใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในการกระจาย Software  นั้น

License
                                Software ที่จะติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องหรือหลายเครื่องได้นั้น  จะต้องขึ้นอยู่กับรายละเอียดที่  license ได้กำหนดไว้   ซึ่งจะต้องจัดเก็บหลักฐานของการใช้กับ userหลายคนไว้  ตัวเลขของ user จะไม่สามารถมีเกินกว่าตัวเลขที่ใน  licenses ได้กำหนดไว้  อย่างไรก็ดี
ลูกค้าคัดลอกและแจกจ่าย software โดยใช้  manuals ไปยัง users  คนอื่นได้   บางองค์กรอาจจะใช้ network licenses  สำหรับการติดตั้ง Software บนเครื่อง server  การจ่ายค่าธรรมเนียมจะขึ้นอยู่กับ  License ที่กำหนดจำนวนตัวเลขของ user  ที่สามารถเข้าใช้งานระบบได้

การเผยแพร่และกระจาย  Software  ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

                คุณสามารถรับ software ได้จากแหล่ง   Internet   ซึ่งได้แก่ Software ประเภท  freeware และ shareware  หรือบางครั้งอาจเป็น Software ทางการค้า